วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 4

แบบฝึกหัดบทที่ 4
1.คีย์บอร์ดแบบเออร์โกโนมิกส์ ช่วยลดปัญหาในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร จงยกตัวอย่างประกอบตอบ. คีย์บอร์ดลักษณะดังกล่าว ถูกออกแบบมาเพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อมือที่
         สัมผัสกับคีย์บอร์ดอยู่ตลอดเวลา โดยมีแป้นรองรับการพิมพ์สัมผัสที่ง่ายและเบา มีแท่นวางมือและ
         ออกแบบให้สัมพันธ์กับสรีระของแขนและมือให้ทำงานสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
 

2.ออปติคอลเมาส์มีหลักการทำงานแตกต่างจากเมาส์แบบทั่วไปอย่างไร
ตอบ. เมส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์จะทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนเหมือนกับเมาส์แบบทั่วไปแต่จะ
         ใช้แสงส่องไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง และมีวงจรภายในทำหน้าที่วิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไป
         เมื่อมีการเลื่อนเมาส์ จากนั้นจะแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่งในที่าุด ซึ่งปัจจุบันมีทั้งแบบต่อสาย
         และแบบไร้สาย

3.OMR คืออะไร จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบของลักษณะงานที่นำไปใช้
ตอบ. เครื่องมือที่ใช้สำหรับอ่านหรือตรวจสอบคะแนนจากกระดาษคำตอบชนิดพิเศษ มีชื่อเต็มว่า "Optical
         Mark Reader" มักนำไปใช้กับการตรวจข้อสอบของบุคคลจำนวนมาก เข่น การสอบเอ็นทรานซ์
         การสอบวัดระดับความรู็้ต่าง ๆ โดยจะทำการอ่านเครื่องหมายที่ผู้เข้าสอบได้ทำการระบายไว้ในกระ
         ดาษคำตอบที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ

4.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถือว่าเป็น หัวใจหลักของเครื่องพีซีทุกเครื่อง คืออุปกรณ์ใด เหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น
ตอบ. เมนบอร์ด คืออุปกรณ์ที่เป็นเสมือนหัวใจหลักของเครื่องพีชี เนื่องจากเป็นแผงควบคุมวงจรการเชื่อม
         ต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด จะขาดไปเสีียไม่ได้ ความ -
         สามารถของเครื่องว่าจะใช้ซีพียูอะไรได้บ้าง มีประสิทธิภาพเพียงใด สามารถรองรับกับอุปกรณ์
         ใหม่ ๆ ได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดที่เลือกใช้ทั้งสิ้น

5.หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมาประเภทละ 2 รายการ
ตอบ. สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
          1. แบบจานแม่เหล็ก
              เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน [ disk ]
              ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควร เช่น ฟล็อปปีดีิสก์และฮาร์ดดิสก์
          2. แบบแสง
              เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัด
              การข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก ต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอยและเริ่มเก็บบันทึก
              ข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD , DVD
          3. แบบเทป
              เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง
              กันไป มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้น
          4. แบบอื่น ๆ
              เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น Flash Drive
             Thumb Drive , Handy Drive เป็นต้น อีกชนิดคือ Memory Card เพื่อใช้เก็บข้อมูลในกล้องดิจิ-
              ตอลแบบพกพา
   

6.แทรคและเซกเตอร์ในสื่อเก็บข้อมูลจานแม่เหล็กคืออะไร
ตอบ. พื้นที่เก็บข้อมูลบนแผ่นจานแม่เหล็ก โดยที่แทรคจะเป็นลักษณะของพื่นที่แนววงกลมรอบ ๆแผ่น
         จาน จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้นด้วย ซึ่งแผ่นแต่ล่ะแผ่นจะมี
         ความหนาแน่นของสารแม่เหล็กแตกต่างกันทำให้ปริมาณความจุจึงแตกต่างกันด้วย ส่วนเซกเตอร์
         นั้น เป็นส่วนของแทรคที่แบ่งย่อยออกมาเป็นส่วน ๆ หากเปรียบเทียบแผ่นจานเเม่เหล็กเป็นคอนโด
         มิเนียมหลังหนึ่ง แล้วเซกเตอร์ก็เปรียบเหมือนกับห้องพักที่แบ่งให้คนอยู่เป็นห้องๆ นั้่นเอง
7.แผ่นดิสก์เก็ตต์แผ่นหนึ่งเก็บข้อมูลได้ 2 ด้าน แต่ละด้านมี 80 แทรค แต่ละแทรคแบ่งได้ 9 เซกเตอร์ และแต่ละเซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ จงคำนวณหาความจุของแผ่นนี้ตอบ. ความจุของแผ่นดิสก์เก็ตแผ่นนี้ สามารถคำนวณหาได้ดังนี้
         ความจุของแผ่นดิสก์เก็ต = 2 X 80 X 9 X 512 bytes
                                             = 737,280 bytes
                                             = 720 KiB (737,280/1024)
                                      หรือ = 737.28 KB (737,280/1000)
8. ดิสเก็ตต์และฮาร์ดดิสก์ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบายตอบ. ดิสเก็ตต์จะมีราคาถูกกว่ามาก แต่จะเก็บได้ไม่มากเท่ากับฮาร์ดดิสก์เพราะมีพื้นที่จานเก็บข้อมูล-
         ขนาดใหญ่กว่า ซึ่งประกอบด้วยจานหลายแผ่น ทำให้จำนวนแทรคและเซกเตอร์จึงมีมากตามไปด้วย
         สำหรับการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านดิสเก็ตต์จะสัมผัสแผ่นจานทุกครั้งที่อ่าน แต่ฮาร์ดดิสหัวอ่านจะลอย
         อยู่หนือแผ่นจาน ไม่มีการสัมผัสตัวแผ่นจานแต่อย่างใด
9.สื่อเก็บข้อมูลประเภท CD และ DVD มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างตอบ. สื่อเก็บข้อมูลแบบ CD จะเหมาะกับการเก็บข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลไฟล์การทำงาน ข้อมูลโปรแกรม
         เพื่อใช้งาน ส่วนแบบ DVD จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าคือ เก็บข้อมูลได้เยอะมากยิ่งขึ้น จุได้ 17 GB จึง
         เหมาะสมกับการเก็บข้อมูลกับการเก็บข้อมูลงานทางด้่าน มัลติมิเดีย เพื่อให้เกิดความสมจริงของ
         ภาพและเสียงมากที่สุด
10.เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตและแบบเลเซอร์ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบายตอบ. เครื่องพิมแบบอิงค์เจ็ตอาศัยหลักการพิมพ์โดยใช้หมึกพ่นลงไปบนกระดาษ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม ส่วนเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ราคาแพงกว่า เนื่องจากให้ความคมชัดได้ดีหลักกการทำงานจะอาศัยแสงเลเซอร์ยิงลงไปบนกระดาษ คล้ายกับการทำงานของเครื่องถ่าย-
         เอกสาร แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนาได้

แบบฝึกหัดบทที่ 7

สรุปบทที่ 7
                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือที่เรียกว่า DSS  เป็นระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองข้อมูลในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง  เราสามารถจำแนกส่วนประกอบของ DSS ออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
                1.  อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ DSS แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ อุปกรณ์ประมวลผล อุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์แสดงผล
                2.  ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องกาของผู้ใช้
                3.  ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบระบบการทำงานให้สอดคล้องกันมากเพียงใด
                4.  บุคลากรจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การพัฒนา การออกแบบ และการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยที่เราสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่ม ผู้ใช้และผู้สนับสนุนระบบ DSS        
                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หรือที่เรียกว่า GDSS เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในกาตัดสินใจของกลุ่ม ต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
                1. อุปกรณ์ อุปกรณ์ที่ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกันตามหลัก การยศาสตร์ จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการสร้างความสอดคล้องระหว่างอุปกรณ์และผู้ใช้ในการทำงาน
                2.  ชุดคำสั่ง  ต้องมีลักษณะเหมาะสมในการรวบรวมและนำเสนอข้อมูล บ่งชี้ความจำเป็นก่อนหลังในการตัดสินปัญหาต่างๆ ช่วยส่งเสริมการแสดงความคิดเห็น เพื่อที่จะหาข้อสรุปของปัญหา
                3.  บุคลากร จะรวมถึงสมาชิกของกลุ่มตลอดจนผู้สนับสนุนในด้านต่างๆ ที่ทำให้การทำงานและการตัดสินใจของกลุ่มดำเนินไปอย่างเรียบร้อย
                ประโยชน์ของ GDSS มีดังนี้
                -  ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
                -  มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
                -  สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
                -  สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
                -  มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
                -  ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
                -  มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด

  1.  จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและการตัดสินใจ
ตอบ  การจัดการก็คือ กิจกรรมต่างๆที่แต่ละองค์การจะต้องทำ เช่น การเข้าประชุม การวางแผนงาน                  การติดต่อกับลูกค้า จัดงานเลี้ยงเปิดตัวสินค้า โดยที่ Henri Fayol ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส ได้กล่าวถึงหน้าที่หลักในการจัดการไว้ 5 ประการด้วยกันคือ การวางแผน การจัดองค์การ การประสานงาน การตัดสินใจและการควบคุม จะเห็นว่าการตัดสินใจก็เข้ามามีบทบาทสำคัญเช่นกัน  องค์การจะประสบความสำเร็จหรือประสบความล้มเหลวในการดำเนินกิจการต่างๆ นับว่ามีส่วนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ การเลือกโอกาส หรือแก้ปัญหาของผู้บริหารเป็นสำคัญ

2.  เราสามารถจำแนกการตัดสินใจภายในองค์การออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง
ตอบ  3 ระดับ คือ
                -  การตัดสินใจระดับกลยุทธ์
                -  การตัดสินในระดับยุทธวิธี
                -  การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ

3.  เราสามารถแบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ   3 ขั้นตอน คือ
                -  การใช้ความคิดประกอบเหตุผล
                -  การออกแบบ
                -  การคัดเลือก

4.  การตัดสินใจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ  มี 3 ประเภท คือ
                -  การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง
                -  การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง
                -  การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง

5.  การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ  เป็นการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่อาจจะวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า และมักจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลากหลาย ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับอนาคต
6.  จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ  ระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง

7.  DSS มีส่วนประกอบอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ       1  อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบแรกและเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
                     - อุปกรณ์ประมวลผล 
                     - อุปกรณ์สื่อสาร
                     - อุปกรณ์แสดงผล DSS
                2  ระบบการทำงาน มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนดังนี้
                     - ฐานข้อมูล
                     - ฐานแบบจำลอง
                     - ระบบชุดคำสั่งของ DSS
                3  ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบระบบการทำงานให้สอดคล้องกันและเหมาะสมกับการใช้งานมากเพียงใด ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอ แล้วก็จะไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม
                4  บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากบุคคลจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การกำหนดปัญหาและความต้องการ การพัฒนา การออกแบบและการใช้ DSS ซึ่งเราสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
                     - ผู้ใช้
                     - ผู้สนับสนุน
8.  การพัฒนา DSS มีความเหมือนหรือความแตกต่างจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการประเภทอื่นอย่างไร
ตอบ  DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติการที่แลกเปลี่ยน เก็บรวบรวม และประมวลผลข้อมูลคือ DSS จะจัดการกับข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่เหมาะสมกับการตัดสินใจของผู้ใช้ โดย DSS จะใช้ข้อมูลที่ประมวลผลจากระบบการปฏิบัติการมาจัดระเบียบ และวิเคราะห์ตามคำสั่งและความสนใจของปัญหา นอกจากนี้ DSS ยังช่วยเร่งพัฒนาการและความเข้าใจในศักยภาพการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุม มากกว่าการปฏิบัติงานประจำวัน

9.  ปัจจุบันองค์การสามารถพัฒนา DSS อย่างไร
ตอบ       -  การวิเคราะห์ระบบ เป็นขั้นตอนแรกในการพัฒนา DSS โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะกำหนดถึงปัญหา ตลอดจนวิเคราะห์หาขั้นตอนที่สำคัญในการตัดสินใจแก้ปัญหานั้นๆ
                -  การออกแบบระบบ จะเป็นระบบสารสนเทศที่มีความพิเศษในตัวเองที่สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อยๆ ผู้ออกแบบควรจะออกแบบให้ระบบมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับตัวได้ตามความเหมาะสมและมีความสะดวกต่อผู้ใช้
                -  การนำไปใช้ DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยทั่วไป ที่ผู้ใช้จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบจากแรกเริ่มต้นจนถึงสภาวะปัจจุบัน และจะพัฒนาต่อไปในอนาคต

10.  จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม (GDSS)
ตอบ  ประโยชน์ของ GDSS มีดังนี้
                -  ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
                -  มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
                -  สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
                -  สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
                -  มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
                -  ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
                -  มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด

แบบฝึกหัดบทที่ 2


1) นิยามความหมายและยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ตอบ  หมายถึงระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์
 ตัวอย่างคือ  สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งจากภายในและภายนอกองค์การมาไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ
                       สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงาน และการบริหารงานของผู้บริหาร

2) ข้อมูลและสารสนเทศมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  เหมือนกันเนื่องจากข้อมูลและสารสนเทศจะเป็นหน่วยพื้นฐานของ MIS ที่ต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อการดำเนินงานและการตัดสินใจทางธุรกิจ
          อย่างไรก็ดีข้อมูลและสารสนเทศสามารถใช้ทดแทนกันในหลายโอกาส แต่บางครั้งอาจมีความหมายที่แตกต่างกันมาก  เนื่องจากความเจาะจงในการใช้งาน

3) สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ      -  ถูกต้อง
                -  ทันเวลา
                -  สอดคล้องกับงาน
                -  สามารถตรวจสอบได้

4) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
ตอบ  สามารถนำสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสทางธุรกิจ กล่าวได้ว่าสารสนเทศเป็นข้อมูลที่มีความหมายหรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้ เนื่องจากข้อมูลที่ดีย่อมเป็นวัตถุดิบสำหรับสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพจะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจวางแผน กำหนดเป้าหมาย และแก้ปัญหาในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นได้อย่างดี

5) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง
ตอบ       -  ความสามรถในการจัดการข้อมูล
                -   ความปลอดภัยของข้อมูล
                -  ความยืดหยุ่น
                -  ความพอใจของผู้ใช้
               
6) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
ตอบ  มี 3 ระดับ   -  หัวหน้างานระดับต้น
                                 -   ผู้จัดกลางระดับกลาง
                                 -  ผู้บริหารระดับสูง

7) จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานระบบสารสนเทศและระดับของผู้บริหารในองค์การ
ตอบ       -  หัวหน้างานระดับต้น เป็นบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลการปฏิบัติงานแบบวันต่อวัน ได้แก่ หัวหน้างาน หัวหน้าหน่วย และหัวหน้าแผนก
                -  ผู้จัดการระดับกลาง เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ควบคุมและประสานงานระหว่างหัวหน้างานระดับปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้การประสานงานในองค์กรราบรื่น ทำให้หัวหน้างานและพนักงานระดับปฏิบัติ สามารถปฏิบัติงานตามนโยบายที่มาจากผู้บริหารระดับสูงอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
                -  ผู้บริหารระดับสูง เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง วางนโยบาย และแผนงานระยะยาวขององค์การ โดยอาศัยข้อสรุปและสารสนเทศจากกลุ่มผู้จัดการระดับกลาง

8) ผู้บริหารสมควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การอย่างไร
ตอบ  กำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง วางนโยบาย และแผนงานระยะยาวขององค์การ

9) โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ  แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
                -  หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ
                -  หน่วยเขียนชุดคำสั่ง
                -  หน่วยปฏิบัติการและบริการ
10) บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ  มี 7 ประเภท
                -  หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ
                -  นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
                -  ผู้เขียนชุดคำสั่ง
                -  ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
                -  ผู้จัดตารางเวลา
                -  พนักงานจัดเก็บและรักษา
                -   พนักงานจัดเตรียมข้อมูล

11) เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ตอบ  เพราะ IT  มีอิทธิพลอย่างมากในเรื่องการกระจายอำนาจ ทรัพย์สิน สิทธิ และความรับผิดชอบ การพัฒนา IT  ทำให้เกิดผู้แพ้ ผู้ชนะ ผู้ได้ประโยชน์ หรือผู้เสียประโยชน์ จะเห็นว่าระบบข้อมูลสารสนเทศนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง โดยแผนกหรือฝ่ายสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีนโยบายที่แน่นอนในการจัดการข้อมูลให้เกิดความปลอดภัย ใช้อย่างถูกต้อง และเป็นประโยชน์

12) จงอธิบายตัวอย่างผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ  ผลกระทบทางบวกคือ
                -  เพิ่มความสะดวกสบายในเรื่องการสื่อสาร การบริการ และการผลิต
                -  เกิดสังคมแห่งการสื่อสารและสังคมโลก
                -  มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆในฐานข้อมูลความรู้
                -  เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ
                -  พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่
                ผลกระทบทางลบคือ
                -  ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม
                -  ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก
                -  ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม
                -  การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง
                -  อาชญากรรมบนเครือข่าย
                -  เกิดช่องว่างทางสังคม   
 
สรุปบทที่ 2
                ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึงระบบที่รวบรวมข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ โดยที่ MIS ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ประการดังนี้
                - เครื่องมือในการสร้าง MIS เป็นส่วนประกอบ หรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็นระบบสารสนเทศ และช่วยให้ระบบสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                - วิธีการประมวลเป็นลำดับชั้นในการประมวลผลข้อมูล
                - การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศมักเป็นรูปของรายงานต่างๆซึ่งสามารถเรียกมาแสดงได้อย่างรวดเร็ว
                ปัจจุบันผู้จัดการตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการระดับกลาง และหัวหน้าพนักงานระดับปฏิบัติงาน ต่างเกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม มีระดับการใช้งานสำคัญที่แตกต่างกัน โดยมีบทบาทดังนี้
                - ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ
                - เข้าใจความต้องการของระบบ
                -มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้าง
                - บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ
                - จัดการและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง
                ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางกลายเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศหรือยุคข้อมูลข่าวสาร และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษยชาติอย่างมหาศาล คือ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้สามารถจำแนกผลกระทบทางบวกของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดังนี้
                - เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริหารและการผลิต
                - เกิดสังคมแห่งการสื่อสารและสังคมโลก
                - มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆในฐานข้อมูลความรู้
                - เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย
                - พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่
                - การทำงานแลกเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
                - ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสินค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น
นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกผลกระทบทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดังนี้
                - ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม
                - ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก
                - ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม
                - การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง
                - การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
                - เกิดช่องว่างทางสังคม
                - เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี
                - อาชญากรรมบนเครือข่าย
                - ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ